บทความ

อุปกรณ์ตรวจจับ (Detector) แบบ Wireless Inter-Connect จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับและแจ้งเหตุได้ในตัวเองเหมือนกับแบบ Stand Alone ที่เพิ่มมาคือฟังก์ชั่นที่สามารถเชื่อมโยงการส่งสัญญาณการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ในบริเวณได้ (ในรูปแบบของสัญญาณไร้สาย) ทำให้สามารถแจ้งเตือนได้ครอบคลุมทั่วทั้งบริเวณ

อุปกรณ์ตรวจจับ (Detector) แบบ Stand Alone จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับและแจ้งเหตุได้ในตัวเองโดยมีแบตเตอรี่ภายในตัวอุปกรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณ สามารถติดตั้งได้ง่ายด้วยตนเอง

ระบบ Addressable เป็นระบบที่มีการแจ้งแบบระบุเป็นตำแหน่งหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ในระบบนี้จะมีหมายเลขประจำอุปกรณ์อยู่ทุกตัวและหมายเลขจะไม่สามารถซ้ำกันได้ จึงทำให้การแจ้งเตือนสามารถระบุอุปกรณ์ที่เกิดการตรวจจับได้ เพราะเหตุนี้ระบบ Addressable จึงเป็นระบบที่สามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ Conventional หรือ บางคนอาจจะเรียกว่า Hard-wire เป็นระบบที่มีการแจ้งเตือนแบบระบุเป็นโซน ซึ่งการแบ่งโซนการแจ้งเตือนจะขึ้นอยู่กับการออกแบบและการเดินสายสัญญาณมายังตู้ควบคุม ยกตัวอย่าง เช่น อุปกรณ์ตรวจจับ(Detectors) ตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในแนวของสายสัญญาณนั้น ๆ มีการตรวจจับเหตุเกิดขึ้น จะส่งสัญญาณมายังตู้ควบเพื่อแจ้งเตือน และ แสดงผลตามลำดับโซนที่มีการเชื่อมต่อของสายสัญญาณ

ระบบ Wireless Addressable เป็นระบบที่มีการอัพเกรดจากระบบ Addressable การแจ้งเตือนและการทำงานจะเหมือนกับระบบ Addressable ทุกอย่าง แต่ที่พิเศษกว่าคือตัวตู้ควบคุมสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับแบบไร้สาย (Wireless Detector) ได้ โดยการเชื่อต่อผ่านตัวรับสัญญาณ (Wireless Node) ซึ่งอุปกรณ์ในระบบนี้จะมีหมายเลขประจำอุปกรณ์อยู่ทุกตัวและหมายเลขจะไม่สามารถซ้ำกันได้ จึงทำให้การแจ้งเตือนสามารถระบุอุปกรณ์ที่เกิดการตรวจจับได้

อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ เป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นจากบุคคล โดยการดึง กด หรือทุบกระจกให้แตก เป็นต้น อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือโดยปกติจะมีเครื่องหมายแสดงไว้ที่มองเห็นและเข้าใจได้ง่าย ลักษณะการทำงานอาจเป็นแบบจังหวะเดียว (Single Action) หรือเป็นแบบสองจังหวะ (Double Action) แบบสองจังหวะนี้ ผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องกระทำสองสิ่งครบระบบจึงจะทำงาน เช่น การกดสวิตซ์แล้วค่อยดึงลง เป็นต้น ซึ่งระบบสองจังหวะจะช่วยป้องกันการแจ้งเหตุผิดพลาด หรือจากการไม่ตั้งใจของบุคคลทั่วไปได้ระดับหนึ่ง

Beam Smoke Detector อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบลำแสง เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันอีกชนิดหนึ่ง จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่เป็นตัวรับ(Receiver) และอุปกรณ์ที่เป็นตัวส่ง(Transmitter) ทำงานโดยการบังแสงของควันทีลอยเข้ามาในแนว ระหว่างตัวรับ กับตัวส่ง แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ที่เป็นตัวรับและตัวส่งจะอยู่ในตัวเดียวกัน และใช้เป็นแผ่นสะท้อน(Reflex) ในการสะท้อนกลับมา

Heat Detector อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ ซึ่งสามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ที่ให้ความร้อนสูงอย่างรวดเร็วและมีควันน้อยได้เร็วกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนจะทำงานจากความร้อนที่ตรวจจับได้ โดยแบ่งลักษณะการตรวจจับออกเป็น 2 แบบ คือ แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature) และแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนบางตัวจะทำงานได้ทั้งสองหน้าที่

หลักการทำงานของ Smoke Detector อุปกรณ์ตรวจจับควัน(แบบควันหักเหแสง) ในสภาพอากาศปกติ แสงจะไม่ส่องไปที่ตัวรับแสงโดยตรง เมื่อมีควันเข้าไปในตัวอุปกรณ์ อนุภาคของควันนี้จะไปบังแสงและหักเหแสง แสงบางส่วนจึงไปกระทบกับตัวรับแสง เมื่อปริมาณควันมากขึ้น ปริมาณแสงที่ไปกระทบตัวรับแสงจะมากขึ้นด้วยจนถึงค่าที่ตั้งไว้ จะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงานและแจ้งผลไปที่แผงควบคุม

วงจรแบบนี้แต่ล่ะวงจรจะมีสายไฟเดินออกจากแผงควบคุม จำนวน 2 เส้น ไปต่อเข้ากับอุปกรณ์เริ่มสัญญาณแต่ล่ะตัว อุปกรณ์เริ่มสัญญาณทุกตัวจะต่อกันเป็นแบบขนาน ตัวที่อยู่ปลายสุดจะเรียกว่าอุปกรณ์ปลายสายวงจร (End-of-line) มาตรฐาน NFPA เรียกว่าเป็นวงจรแบบ Class B

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบทั้งเมื่อทำการติดตั้งเสร็จ และ บำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม จุดประสงค์เพื่อให้ระบบใช้งานได้ดีตามต้องการ มีความเชื่อถือได้สูง และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดเหตุ

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้ 1. ตู้ควบคุม หรือแผงควบคุม 2. แหล่งจ่ายไฟ 3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ 4. อุปกรณ์ส่งสัญญาณ 5. อุปกรณ์ประกอบ

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ และ แจ้งผลให้ผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้นๆ หรือ บริเวณนั้นๆ ทราบโดยอัตโนมัติ

Powered by MakeWebEasy.com